info
ห้ามบังคับทำ OT ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ลูกจ้างทำงานโดยทั่วไปวันละ ๘ ชม. หากเป็นงานอันตรายต่อสุขภาพอนามัย หรือความปลอดภัยอาจลดลงมาเหลือ ๗ ชม. และนี่คือจำนวนเวลาทำงานที่นายจ้างจะบังคับให้ลูกจ้างทำงานได้ การทำงานนอกเหนือหรือเกินจากเวลาทำงานปกติ ๘ ชม. ดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถบังคับลูกจ้างได้ ดั่งมาตรา ๒๔ ที่กำหนดว่า "ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป" จากหลักกฎหมายจึงเท่ากับว่า "หลักคือห้ามบังคับทำงานล่วงเวลา" เว้นแต่จะลูกจ้างจะยินยอม โดยความยินยอมจะให้เห็นไว้ทีเดียวไม่ได้ ต้องขอความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ครั้ง ๆ ไป แต่ก็มีงานที่อาจบังคับให้ลูกจ้างทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมได้แก่งานที่มีลักษณะหรือสภาพที่ต้องทำติดต่อกันถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรืองานฉุกเฉิน โดยการตีความข้อยกเว้นจะต้อง "ตีความโดยเคร่งครัด" ไม่ใช่ว่างานที่วางแผนกำลังคนได้ก็ตีความว่าเข้าข้อยกเว้น อีกทั้งข้อยกเว้นจะต้องเกิดเป็นครั้งคราว ไม่ใช่เกิดขึ้นตลอดไป ดังเช่นที่มีความเห็นของกระทรวงแรงงานฯ ในหลาย ๆ กรณี (รวมถึงกรณีเวลาพัก) เพราะมิฉะนั้นแล้วเกิดผลทางกฎหมายในลักษณะ "หลักการจะถูกทำลายโดยข้อยกเว้น" หรือ "ข้อยกเว้นมากหลักการก็ไม่มี" ตามหลักกฎหมายสากล ซึ่งสภาพการที่เกิดขึ้นเรียกว่าเป็นการเอาหลักมาเป็นข้อยกเว้น ผลที่ตามมาเราก็จะเสียทั้งข้อยกเว้นเสียทั้งหลักการ อนึ่ง การบังคับทำงานล่วงเวลานั้น หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือนปรับไม่เกิน ๑ แสนบาท ตามมาตรา ๑๔๔ #บังคับทำโอ #โอที #โอทีวันหยุด #โอทีวันอาทิตย์ #ค่าล่วงเวลา#ค่าล่วงเวลาในวันหยุด #กฏหมาย #แรงงาน #ลูกจ้าง #ลูกจ้างรายวัน #กฎหมายคุ้มครองแรงงาน #กฎหมายแรงงาน #มนุษย์เงินเดือน #มนุษย์โรงงาน #กฎหมายคุ้มครองแรงงาน #มนุษย์เงินเดือนควรรู้ #กฎหมายแรงงานbyรศตรีเนตร #กฎหมายที่hrควรรู้ #ฝ่ายบุคคล #ฝ่ายบุคคลโรงงาน #ตรีเนตรสาระพงษ์ #รองศาสตราจารย์ตรีเนตร_สาระพงษ์ #มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี #นิติมออุบล #กฎหมายแรงงาน #กฎหมายคุ้มครองแรงงาน #คุก #อาญา #จําคุก #นายจ้าง
Duration: 151 sPosted : Sun, 03 Mar 2024 09:20:54Views
1.3MDaily-
Likes
32.8KDaily-
Comments
989Daily-
Shares
2.5KDaily-
ER
2.80%Daily-
Latest