info
นางสาวชลิดา พะละมาตย์ ประธานกลุ่มเป็นหนึ่ง พร้อมกับนางสาวสุพัตรา แม่ของเด็กชายวัย 1 ขวบ 4 เดือน และป้า ได้เดินทางมาที่โรงพยาบาลบางจาก ที่ถูกกล่าวหาว่าจ่ายยาให้เด็กผิด เพื่อมารับตัวยาที่จ่ายมาให้ ซึ่งทันทีที่มาถึง ทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้เชิญให้แม่ และญาติๆ ขึ้นไปพูดคุยกับทาง นพ.วันฉัตร ชินสุวาเทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางจาก พร้อมกันนี้ได้มีการนำขวดยาที่ดูดใส่ไซริงค์ มาให้กับญาติของน้อง ซึ่งจากที่ทีมข่าวสังเกต ยาขวดดังกล่าวเป็นสีชา ฝาสีด เท่าที่สังเกต มีการปิดสลากสีขาวเขียนว่า “Khoroacetic acid Lot NO. TCA80 661030 หมดอายุ 30 ตุลาคม 2567” จากนั้น นพ.วันฉัตร ชี้แจงว่า หลังจากที่รับทราบข้อมูลก็ได้มีการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และได้ดูใบสั่งยาจากแพทย์ รวมถึงมีการรวบรวมข้อมูล เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เบื้องต้นทราบว่าน้องหกล้ม และมีปัญหาทางด้านศีรษะ และจะส่งตัวไปรับการสแกนสมอง ที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ เนื่องจากโรงพยาบาลบางจากไม่มีเครื่องสแกน ซึ่งในระหว่างที่ดำเนินการต้องมีการให้ยาให้เคลิ้ม เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจ แต่ประเด็นคือ อาจจะมีความคาดเคลื่อนในการเตรียมยาที่ให้น้องหลับ แต่กลายเป็นยาอีกตัวหนึ่ง ที่มีฤทธิ์เป็นกรด จึงทำให้น้องเกิดอาการระคายเคือง ซิ่งเกิดเหตุในรถฉุกเฉิน จึงรีบนำตัวไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ โดยความคลาดเคลื่อนที่ ผอ.ระบุนั้น เข้าใจว่าเป็นช่วงขั้นตอนของการเตรียมยา ซึ่งตอนนี้ทางโรงพยาบาลอยู่ระหว่างการสอบสวนอยู่ซึ่งได้มีการประสานกับทางจังหวัด และให้โรงพยาบาลรวบรวมข้อมูลที่มี ส่งไปทางจังหวัดที่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมา ซึ่งในรายละเอียด อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล เบื้องต้น ตัวยาที่จ่ายไปให้นั้น คือ TCA หรือกรดไตรคลอโรอะซิติก (Trichloroacetic Acid) ซึ่งเป็นยาใช้ภายนอก สำหรับพวกติ่งเนื้อ หรือหูด ฤทธิ์ของมันเป็นกรด ก็จะเกิดการระคายเคืองหากมีการรับประทานเข้าไป ทั้งนี้ โดยปกติตัวยาทั้ง 2 ชนิด จะจัดวางแยกกัน ระหว่างยาใช้ภายนอกที่มีฤทธิ์เป็นกรด และ ยาใช้ภายใน แต่ต้องไปตรวจสอบว่าเความผิดพลาดเกิดจากอะไร แต่โดยโฟลว์ของการจ่ายยา ก็จะมีการจัดยาให้ตรง เป็นไปตามมาตรฐานของทุกโรงพยาบาล เมื่อสอบถามว่า ยาทั้ง 2 ชนิด มีลักษณะใกล้เคียงกันหรือไม่ ทาง ผอ.โรงพยาบาล ระบุว่า เท่าที่ทราบจากที่รับแจ้งมา ทั้งบรรจุภัณฑ์ และสียาใกล้เคียงกัน เบื้องต้น ได้มีการให้เจ้าหน้าที่หยุดงานทันทีในระหว่างขั้นตอนการสอบสวน ซึ่งก็เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พร้อมยืนยันว่า ผู้ที่จ่ายยาให้เป็นทีมเภสัชกร หากพบว่า ทางเจ้าที่ของโรงพยาบาลมีความบกพร่องจริงก็จะถูกดำเนินการ ตามระเบียบราชการโทษสูงสุดคือไล่ออก ซึ่งทางจังหวัดเองไม่ได้นิ่งนอนใจ พยายามที่จะตรวจสอบข้อมูล ให้ทำข้อมูลขึ้นไป และเน้นย้ำให้ทางโรงพยาบาลดูแลเด็กรายนี้ ในเรื่องค่าใช้จ่ายการรักษาเต็มที่ และทำเอกสารเพื่อยื่น ม. 41 เพื่อการเยียวยากับน้องโดยตรง #เรื่องเล่าเช้านี้ #ข่าวช่อง3 #ข่าวสังคม#ม.41 #ยา #เภสัชกร #กระทรวงสาธารณสุข #มาตรฐานโรงพยาบาล
Duration: 0 sPosted : Fri, 08 Dec 2023 10:04:38Views
556.7KDaily-
Likes
3.1KDaily-
Comments
409Daily-
Shares
192Daily-
ER
0.67%Daily-